เมนู

และปัญญาที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
อันเป็นผลเลิศ ชื่อว่า สีลขันธ์ที่เป็นอเสกขะ โดยสภาพนั่นเอง
ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น. สัมมาสมาธิก็เช่นกัน (คือเป็นผลอันเลิศ) ชื่อว่า
สมาธิขันธ์ที่เป็นอเสกขะ. ส่วนสัมมาวายามะ และสัมมาสติ ถึงการสงเคราะห์
เข้าในสมาธิขันธ์ เพราะเป็นอุปการะแก่สมาธิขันธ์นั้น. สัมมาทิฏฐิก็เช่นนั้น
(คือเป็นผลเลิศ) ชื่อว่า ปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสกขะ. สัมมาสังกัปปะ ถึงการ
สงเคราะห์เข้าในปัญญาขันธ์ เพราะเป็นอุปการะแก่ปัญญาขันธ์ ด้วยประการ
ดังพรรณนามานี้ ในข้อนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคือ
อรหัตผลทั้ง 8 สงเคราะห์เข้ากับขันธ์ทั้ง 3.
บทว่า ยสฺส เอเต สุภาวิตา มีการเชื่อมความว่า พระอรหันต์
รูปใด อบรมตามขันธ์ที่เป็นอเสขะ มีศีลเป็นต้นเหล่านี้ดีแล้ว คือเจริญดีแล้ว
พระอรหันต์นั้น ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์. บางท่านสวดว่า ยสฺส เจเต
ดังนี้ก็มี. ศัพท์ของบทว่า เจเต นั้น เป็นเพียงนิบาต.
ในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้ในสูตรแรก ตรัสวิวัฏฎะ
ไว้ในสูตรสุดท้าย ส่วนในสูตรนอกนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ ดัง
พรรณนามานี้.
จบอรรถกถามารเธยยสูตรที่ 10
จบวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อกุศลมูลสูตร 2. ธาตุสูตร 3. ปฐมเวทนาสูตร 4. ทุติยเวทนา
สูตร 5. ปฐมเอสนาสูตร 6. ทุติยเอสนาสูตร 7. ปฐมอาสวสูตร 8. ทุติย
อาสวสูตร 9. ตัณหาสูตร 10. มารเธยยสูตร และอรรถกถา.